พระราชวังจันทร์สถานที่พระราชสมภพในสมเด็จพระนเรศวร

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ทรงพระราชสมภพที่พระราชวังจันทร์ (บริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม) โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมเคยเป็นโรงเรียนพี่เลี้ยงก่อตั้งโรงเรียนคือ ในปี พ.ศ. 2507 โรงเรียนจ่านกร้อง ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวังจันทร์เป็นโบราณสถานแห่งชาติ ทำให้โรงเรียนต้องย้ายสถานที่ทำการสอนไปยังที่ของกระทรวงเกษตร เพื่อให้กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะ และในปี พ.ศ. 2548 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมได้ย้ายออกจากเขตพระราชวังจันทร์แล้วเสร็จสิ้นไปยังบึงแก่งใหญ่

ประกาศอิสรภาพ

วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ

วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ วันสำคัญที่คนไทยควรทราบและรำลึกถึงอีกหนึ่งวันสำคัญในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช   วันที่พระองค์ทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ว่าต่อแต่นี้ไปสยามไม่ขึ้นต่อกรุงหงสาวดี ตราบเท่ากาลปาวสาน เมื่อแรมสามค่ำ เดือนหก ปีวอก  ซึ่งในบันทึกพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯระบุว่าเป็น “ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๙๔๖”

สถูปพระนเรศวร ณ เมืองงาย

                ในอดีตเมืองห้างหลวงหรือเมืองหางมีความสำคัญกับสยามมาช้านานสันนิษฐานว่า พื้นที่นี้เป็นเส้นทางเดินทัพที่สำคัญในอดีต ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศไทยที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่นี้เดิมทีเป็นของชนกลุ่ม น้อยชาวไต โดยมีดินแดนติดต่อกับพม่าและไทย ในบริเวณนี้เองมีพระสถูปที่มีการสร้างมานานแล้วและชาวไตมีความเคารพนับถือ มาก เรียกพระสถูปแห่งนี้ว่า “กองมูขุนหอคำไต”              

บ่อน้ำบนเขาสมอแคลง

เขาสมอแคลง สถานที่ฝึกนักรบในสมเด็จพระนเรศวร

  เขาสมอแคลง สถานที่ซุ่มฝึกนักรบในอดีตของสมเด็จพระนเรศวร ตามตำราพิชัยสงคราม สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้สร้างขึ้น เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงครอง พิษณุโลก ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งในบริเวณนั้นพบบ่อน้ำโบราณ ๒บ่อ

วัดผ่านศึกอนุกูล-เส้นทางทัพพระนเรศวร

อำเภอกลางดงเส้นทางเดินทัพในอดีต

  สถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ ณ พลับพลาพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดผ่านศึกอนุกูล ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อนๆที่อยู่จ.นครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียงหรือท่านที่

แบงค์50ด้านหลังเป็น-พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช-300x284

แบงค์๕๐ ใหม่ พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

หลังจากปีใหม่ได้รับทราบข่าวดีจากทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมจัดพิมพ์ธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาท และในครั้งนี้เป็นที่กล่าวขวัญกันมาก เพราะธนบัตรฉบับ ๕๐ บาท ในครั้งนี้ด้านหลังได้นำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระนเรศวรมหาราชขณะทรงหลั่ง ทักษิโณทก ประกาศอิสระ ภาพไม่เป็นเมืองขึ้นต่อพม่า ที่สำคัญมีการออกนำมาใช้เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ เพื่อรำลึกถึงวันที่ ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยเหนือพระมหาอุปราชาของพม่า  

ในหลวง-ความฝันอันสูงสุด

ที่มาแห่งบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด”

                     ที่มาแห่งบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” บทเพลงที่ประชาชนคนไทยคงได้เคยรับฟังแล้ว จะมีสักกี่คนที่ทราบที่มา และความหมายของ บทพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด”  เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ได้ทรงเสด็จไปในพระราชพิธีสังเวยดวงวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิบัติเป็นประจำทุกปีมา สำหรับปี พ.ศ.๒๕๑๕ นี้ ได้เสด็จไปที่ตำบล

วันกองทัพไทย

๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย

           วันกองทัพไทยตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชามังสามเกียด เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกที่กอบกู้ เอกราชให้ชาติไทย โดยเฉพาะวีรกรรมที่ทรงกระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชามังสามเกียด แห่งพม่านั้น เป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทย ไม่มีข้าศึกกล้ามารุกรานประเทศไทยยาวนานถึง ๑๕๐ ปี ซึ่งวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีชัยชนะนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ หรือเมื่อ ๔๑๙ ปีล่วงมาแล้ว(ปัจจุบัน๒๕๕๕)

หลักฐานแวดล้อมพระเจดีย์.

หลักฐานแวดล้อมบริเวณอ.พนมทวน

หลักฐานแวดล้อมบริเวณอ.พนมทวน  วัดบ้านน้อย วัดเก่าแก่ บริเวณสงครามยุทธหัตถี ตามพงศาวดารฉบับวันวลิตได้กล่าวไว้ว่า การทำสงครามยุทธหัตถีอยู่ใกล้บริเวณวัดเก่าแก่ ห่างประมาณ๑ กิโลเมตร โดยในปัจจุบันได้ค้นพบ วัดเก่าแก่ ชื่อวัดบ้านน้อย อยู่ห่างประมาณ ๑,๕๕๐ เมตรจากเจดีย์ยุทธหัตถี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งที่วัดบ้านน้อยแห่งนี้มี ศิลปการก่อสร้างเป็นแบบอยุธยาอย่างชัดเจน เจดีย์ระฆังคอดกว่าส่วนบนเป็นเจดีย์รุ่นเดียวกับปรางค์ยอดบานดังว่า สร้างในยุคสมัยเดียวกันที่วิหารหลังเจดีย์พบ