พระนเรศวร

เพลงดาบอาทมาฏสุดยอดวิชาในสมเด็จพระนเรศวร

 

                        วิชาดาบอาทมาฏในสมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นวิชาที่รวดเร็ว   รุนแรง และอันตรายมาก โดยเฉพาะวิชาตัดข้อตัดเอ็น ซึ่งเป็นวิชาสูงสุดของอาทมาฏ คือไม่มีการฟันดาบ แต่มุ่งฟันข้อต่อของร่างกาย หัวใจของวิชา การฝึกฝน และ เคล็ดวิชา  หัวใจ ของวิชา  ก็คือ ท่า ฟันคือท่ารับ ท่ารับคือท่าฟัน ท่ารุกคือท่ารับ ท่ารับก็คือท่ารุก เขาฟันเราไม่รับ เขารับเราไม่ฟัน จะฟันต่อเมื่อเขาไม่รับ จะรับต่อเมื่อหลบหลีกไม่พ้น    เพลงดาบอาทมาฏ ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ใช้สู้ในศึกสงครามสามารถสู้กับคู่ต่อสู้ได้ ๑ คน ต่อ ๗คน เป็นวิชาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณแบบครูถ่ายทอดไปให้ศิษย์โดยตรง

พระนเรศวร

เราจะสังเกตุได้จากงานช่างสิบหมู่โบราณบางวิชาไม่ได้มีการบันทึกไว้ แต่จะใช้การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ตกทอดมาถึงปัจจุบันและการที่จะเรียนและฝึกไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ ได้ศึกษาวิชา เพลงดาบอาทมาฏ วิชาเพลงดาบในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่พระองค์ทรงใช้ในศึกสงครามจนสามารถชนะข้าศึกศัตรูได้ 

 

       เพลงดาบอาทมาฏ ร้ายกาจ รวดเร็ว รุนแรงที่สุด ทรงอนุภาพ ว่ากันว่าเป็นวิชาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้ยามออกศึกสงคราม มุ่งปลิดชีพคู่ต่อสู้ให้เร็วที่สุด วิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของตำราพิชัยสงคราม ส่วนตำราถูกฉีกเสียหายสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่๑ แต่ตำราเพลงดาบอาทมาฏได้ถูกเก็บซ่อนไว้ที่เมืองพิษณุโลก โดยถูกมอบให้สมเด็จพระนเรศวรเมื่อครั้งพระองค์ทรงเสด็จกลับอยุธยา วิชาดาบมี๑๒ ท่าไม้รำ แต่จริงๆแล้ว มี๑๓ ท่าไม้รำซึ่งแต่ละท่าไม้รำจะแตกออกเป็นกลยุทธ์ไม่รู้จบ ส่วนท่าไม้รำที่๑๓ เป็นท่าที่รุนแรงมากที่สุด มีไว้เฉพาะครูเพื่อป้องกันเหตุการณ์ศิษย์คิดล้างครู นั้นก็คือท่าหนุมานเชิญธง

  อาจารย์ชาติชาย  อัชนันท์

                           เรื่องราวในครั้งนี้ ได้รับเปิดเผยโดยอาจารย์ชาติชาย  อัชนันท์ เจ้าสำนักดาบอาทมาฏนเรศวร โดยอาจารย์ได้มาออกรายการคุณพระช่วย อาจารย์เล่าว่าเริ่มต้นมาจากอาจารย์มาโนช ซึ่งเป็นอาจารย์ของครูชาติชายอีกที อาจารย์มาโนชเป็น คนพิษณุโลกมีวิชานี้อยู่แล้ว โดยได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์สุริยา ซึ่งก็เป็นคนพิษณุโลกเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพเช่นกัน พออาจารย์ชาติชายได้ฟังเรื่องราวจากอาจารย์มาโนชแล้วเกิดความรู้สึกประทับใจว่าเป็นวิชาที่สุดยอดมาก ก็เลยมีการประลองกันเกิดขึ้นแต่สิ่งที่อาจารย์ชาติชายสัมผัสคือครูมาโนชหลบไปหลบมา ไม่สามารถตีโดนเลย แถมยังหัวเราะแบบสบายๆ กลับเป็นอาจารย์ชาติชายที่เคร่งเครียดแทน



                         วิชาดาบอาทมาฏ เป็นวิชาที่ปากต่อปากกันมา หากเรารู้จักงานของช่างสิบหมู่จะทราบว่าบางวิชาก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ ใช้วิชาสืบทอดโดยตรงจากอาจารย์เท่านั้น ซึ่งครูบาอาจารย์ของอาจารย์ชาติชายเล่าว่าได้รับการถ่ายทอดมาทางสายนี้โดยตรง เมื่ออาจารย์ชาติชายฝึกไปนานเข้ากลับพบว่าเกิดอาการซาบซึ้ง จิตใจน้อมเข้ามาในใจนึกถึงแต่พระมหากรุณาธิคุณ วีรกรรม ความกล้าหาญ ความเสียสละในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  อาจารย์เปิดเผยว่าลูกศิษย์ที่จะมาเรียนจะมีการสืบประวัติก่อน ต้องมีคุณธรรมไม่เอาวิชาไปใช้ในทางที่ผิด เริ่มแรกเน้นสอนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

                   อาจารย์มาโนช บุญญมัด

                    ต่อมาเป็นอาจารย์มาโนช บุญญมัด ครูฝึกดาบอาทมาฏ ได้เล่าถึงวิธีการใช้ดาบอาทมาฏ ว่าเป็นวิชาที่สอนให้คนรู้จักหลบหลีก

โดยคติของวิชาเพลงดาบอาทมาฏ คือ มีเรื่องต้องหนี หนีไม่ได้ให้สู้ สู้ได้อย่าเจ็บ เจ็บได้อย่าตาย

สว่นดาบไทยมีอยู่ ๓ ส่วน

ด้ามดาบ

๑. ด้าม จะยาวถึงข้อศอกเพื่อป้องกันตลอดแขน ใช้กระแทก กระทุ้งก็ได้ เพราะด้านในของแขนจะมีเส้นเอ็น เส้นประสาท เส้นเลือดใหญ่ ถ้าถูกฟันเส้นประสาท เส้นเอ็นขาดก็จะจับดาบไม่ได้




ด้านหนาของดาบ

๒.ด้านหนา เอาไว้รับกรณีที่หลบหลีกไม่ทันแต่คุณสมบัติของดาบอาทมาฏจะไม่ตั้งรับ “เขาฟันเราไม่รับ เขารับเราไม่ฟัน จะฟันก็ต่อเมื่อเขาไม่รับ จะรับต่อเมื่อหลบหลีกไม่ทัน”

ด้านคมของดาบ

๓.ส่วนคมดาบ เอาไว้ฟันอย่างเดียว ถ้าเอาคมไปรับดาบจะทำให้ด้ามบิ่น ใช้ต่อลำบาก

 

หัวใจของเพลงดาบอาทมาฏ ในการฝึกเบื้องต้น คือการควงแม่ไม้ ๓ ท่า คือท่าเตรียมพร้อมเข้าสู่การจู่โจมสามารถเป็นได้ทั้งรุกและรับ

๑.คลุมไตรภพ

๒.ตลบสิงขร

๓.ย้อนฟองสมุทร

ดาบอาทมาฏ

**สามารถดูวิธีควงแม่ไม้ได้ในคลิปคะ

เพลงดาบอาทมาฏ ไม่มีอะไรตายตัว ท่ารุกกับท่ารับคือท่าเดียวกัน ดังกฏและภาษิตของคนโบราณ

“ท่าฟันคือท่ารับ    รับในท่าฟัน

ฟันในท่ารับ           รุกรับในท่าเดียวกัน”

           ในรายการยังโชว์การฟันเพลงดาบ ซึ่งเพลงดาบอาทมาฏสามารถใช้สู้กับคู่ต่อสู้ได้๗ คน ในเวลาเดียว  ใช้ดาบหวายในการสาธิต การโชว์ท่าเพลงดาบที่แรกกันว่าก้าวเดียวตาย คือท่าหนุมานเหินหาว หากมีการป้องกันจากฝ่ายตรงข้ามจะเปลี่ยนเป็นท่ามะพร้าวห้าวทิ้งดิ่งทันที สามารถดูได้ในคลิปเลยคะ แต่ที่ตื่นตาตื่นใจมากเป็นการโชว์การใช้ดาบจริง ต่อสู้กันจริงๆ  ซึ่งรวดเร็วมากมองไม่ทันกันเลยทีเดียว มีท่าเพลงดาบที่พอมองทัน เช่น



 พญาครุฑยุดนาค คือ ท่าที่เอาไว้ปลิดชีพบริเวณหน้าอก

คลุมไตรภพ  คือ ท่าเตรียมพร้อมเข้าสู่การจู่โจม

ตลบสิงขร  คือ ท่าเตรียมพร้อมเข้าสู่การจู่โจม

ช้างประสานงาน คือท่าที่ใช้รับการเข้าจู่โจมของศัตรู

กาล้วงไส้ คือ ท่าที่เอาไว้ปลิดชีพโดยการแทงจากด้านล่าง

ไผ่พันลำ คือ ท่าที่เอาไว้จู่โจมบริเวณมือและแขน

                      สุดท้ายของรายการอาจารย์มาโนช ได้ฝากถึงเยาวชนไทยว่า “อยากให้หันมาฝึกดาบไทยเป็นการสืบทอดเจตนารมย์ของบรรพบุรุษ วิชาของไทยไม่แพ้ชาติอื่นและไม่เสียค่าใช้จ่าย” 

                              ส่วนอาจารย์ชาติชาย ทิ้งท้ายว่า “ที่มาออกรายการไม่ได้ต้องการแสดงความเก่งแต่อย่างใด แต่มาแสดงให้เห็นและอยากให้คนไทยช่วยๆกันอนุรักษ์ของไทย ให้อยู่คู่แผ่นดินสยามต่อไป”

ในศึกสงครามโบราณ ต้องยอมรับว่า หัวใจของนักรบไทยแกร่งมาก มีความรักชาติอย่างเต็มเปี่ยมและวิชาดาบที่ต้องมีติดตัว ช่วงหลังนี้สู้กันยืนห่างเป็นวา บรรพบุรุษเราการปกป้องบ้่านเมืองด้วยสองมือ ด้วยหัวใจความเป็นชาติไทย

 

บรรณานุกรมเว็บไซต์

หน้าแรก



Posted in เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประวัติศาสตร์ไทย.

Leave a Reply

Your email address will not be published.