สงครามช้างเผือก

สงครามช้างเผือก

 

 

สงครามช้างเผือก




เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. ๒๑๐๗ ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่๑ สงครามครั้งนี้ถือว่าไทยพ่ายแพ้แก่พม่า ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเสียเลือดเนื้อ
เพราะเป็นการยอมให้ช้างเผือกเป็นช้างที่มีบุญญาบารมีของกษัตริย์ ในยุคนั้นสมเด็จพระมหาจักรรดิ ทรงเป็นที่เลื่องลือทั่วเอเซียว่าทรงเป็นพระเจ้าช้างเผือก เนื่องจากพระองค์ทรงมีช้างเผือก เยอะที่สุดจำนวนจำนวน๗เชือก

สงครามช้างเผือก

ภาพช้างเผือกที่มีผู้ตั้งกล้องถ่ายได้ในบริเวณผืนป่าในประเทศไทยปัจจุบัน

หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองยกทัพครั้งใหญ่มาก กำลังพลถึง๕๐๐,๐๐๐นาย ติดอาวุธที่ดีที่สุด พร้อมปืนใหญ่อนุาพสูงจากยุโรปมายากที่เมืองพิษณุโลกจะต้านทานได้ เมื่อยกทัพผ่านมาได้ พระเจ้าบุเรงนองได้เจรจาขอช้างเผือก จำนวน๔เชือก เพื่อแลกกับการยุติสงครามตอนนั้นสมเด็จพระมหาจักรรดิทรงมีช้างเผือกอยู่๗เชือก ทั้งยังขอพระราเมศวรไป

เป็นองค์ประกันที่กรุงหงสาวดี พร้อมพระยาจักรีและพระสุนทรสงคราม เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์นี้สมเด็จพระมหาจักรรดิทรงวางมือทางกานปกครองแล้วทรงออกผนวขชโดยแต่งตั้งให้ สมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ แทนพระราเมศวรผู้สืบราชบังลังค์อันดับ๑ ซึ่งต้องไปเป็นองค์ประกันที่พม่า

จากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็เริ่มอ่อนแอ และต่อมาก็เสียกรุง๑ พระราเมศวร พระราชโอรสองค์โตของพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระสุริโยทัย ทรงเป็นรัชทายาทอันดับ๑ มีฝีมือการรบสูง กล้าหาญ รักศักดิ์ศรี เป็นผู้นำต่อสู้กับพระพม่าหลายครั้ง ทรงเสนอให้พระราชบิดาปฏิเสธการส่งช้างเผือกให้กับพม่าและจะทรงนำทัพสู้กับพม่าขั้นแตกหักเอง แต่เมื่อไทยยอมอ่อนข้อ พระเจ้าบุเรงนองเกรงจะเป็นภัยจึงขอพระราเมศวรไปเป็นองค์ประกันที่พม่า และพระองค์ก็สวรรคตที่พม่าในเวลาต่อมา ส่วนสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสองค์ที่สองของพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระสุริโยทัย เดิมมิได้ตำแหน่งรัชทายาท แต่เมื่อพระราเมศวร พระราชโอรสองค์โตต้องตกเป็นองค์ประกันของพม่าในคราวสงครามช้างเผือก และเมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงสละราชสมบัติ สมเด็จพระมหินทราธิราชจึงขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา

บรรณานุกรมเว็บไซต์

หน้าแรก

Posted in เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประวัติศาสตร์ไทย.

Leave a Reply

Your email address will not be published.