น้อมรำลึก วันอานันทมหิดล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

001

         วันอานันทมหิดล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่๘ โดยพระองค์ทรงเป็นพระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ดำริที่จะจัดงาน วันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ซึ่งได้สร้างคุณูปการต่อวงการแพทย์และการศึกษา เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๘ ให้พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป

สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี

(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2489)
มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล


วันอานันทมหิดล
               พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมันนี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุ ๓ พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย แล้วจึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
                    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะที่มีพระชนมายุเพียง ๘ พรรษา และประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
      เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ และครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ระหว่างกำหนดการเสด็จ พระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง ๔ วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืนเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น ๑๒ ปี
ปวงชนชาวไทยต่างรำลึกถึงพระเมตตาธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ อันเป็นอเนกประการจึงน้อมใจน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน โดยถือเอาวันที่ ๙ มิถุนายนของทุกปี เป็น “วันอานันทมหิดล” เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงบันดาลให้เกิดคณะแพทย์ศาสตร์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศให้ประชาชนได้รำลึกถึงพระองค์ท่านสืบไปอีกด้วย
และวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานหนังสือบทเจริญพระพุทธมนต์ขึ้นใหม่ จากเดิมมี บทสวดมนต์ ๒๘ บท ทรงให้เพิ่มเติมบทสวดมนต์อีกจำนวน ๙ บท รวมเป็น ๓๗ บท จำนวน๙๔ หน้า โดยพระราชทานหนังสือสวดมนต์นี้ให้แก่ผู้มาเข้าร่วมพิธี มหามงคลบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล  พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ ลานพระราชวังดุสิต

วัดสุทัศน์ฯ วัดสุทัศนเทพวราราม
 

                                                                       วัดสุทัศนเทพวราราม

 

“พระศรีศากยมุนี” พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม

“พระศรีศากยมุนี” พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม

        พระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ ได้ทรงอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานพระบรมอัฐิ หอพระธาตุมณเฑียร บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง  ส่วนพระบรมราชสรีรางคารนั้น ได้เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญ พระผอบพระบรมราชสรีรางคาร ไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร  ซึ่งถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๘ แล้วได้อัญเชิญบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคาร
เข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ขององค์พระพุทธปฏิมา “พระศรีศากยมุนี” พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร

 

 

ทางทีมงานอยากแนะนำให้ทุกท่านที่เข้าชมบทความนี้ ได้ชมสารคดีทีทำออกได้ดีมาก ได้เห็นภาพบรรยากาศของในหลวงในดวงใจของเรา

สารคดีMy king ในหลวงในดวงใจ

พระราชภาระอันใหญ่หลวง ในราชสกุลมหิดล

 

 

 

บรรณานุกรมเว็บไซต์

หน้าแรก

Posted in กตัญญุตาบูรพมหากษัตริย์ไทย, เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประวัติศาสตร์ไทย.

Leave a Reply

Your email address will not be published.