การจัดกองทัพอโยธยาในสมเด็จพระนเรศวร

การจัดกองทัพอโยธยาในสมเด็จพระนเรศวร

การจัดกองทัพอโยธยาในสมเด็จพระนเรศวร

 การจัดกองทัพอโยธยาในสมเด็จพระนเรศวร

 

กองทัพอโยธยาของสมเด็จพระนเรศวร

ในศึกยุทธหัตถี เมื่อพ.ศ. ๒๑๕๓

กองทัพอโยธยาของ พระนเรศวรนั้นได้จัดขบวนเป็นรูปแบบ เบญจเสนา หรือเรียกว่าห้าทัพดังนี้
๑.   ทัพหน้า พระยาสีหราชเดโชเป็นแม่ทัพ พระยาพิชัยรนฤทธิ์เป็นปีกขวา แล พระยาวิชิตนรงค์เป็นปีกซ้าย
๒.   เกียกาย พระเทพอรชุนเป็นแม่ทัพ พระพิชัยสงครามเป็นปีกขวา แล พระรามกำแหงเป็นปีกซ้าย
๓.   ทัพหลวง สมเด็จพระนเรศวรฯทรงเป็นจอมทัพ พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าพระยามหาเสนาเป็นปีกขวา แล เจ้าพระยาจักรกรีเป็นปีกซ้าย
๔.   ยกกระบัตร พระยาพระคลังเป็นแม่ทัพ พระยาราชสงครามเป็นปีกขวา แล หลวงอภัยสุรินทร์เป็นปีกซ้าย
๕.    ทัพหลัง พระยาท้ายน้ำเป็นแม่ทัพ หลวงหฤทัยเป็นปีกขวา แล หลวงอภัยสุรินทร์เป็นปีกซ้าย

การจัดกระบวนทัพช้าง
สมเด็จพระนเรศวร ทรงช้างเจ้าพระยาไชยานุภาพ (พลายภูเขาทอง) มีเจ้าหน้าที่ประจำช้างต้นดังนี้

ควาญช้าง คือ นายมหานุภาพ  ทำหน้าที่บังคับและช่วยเหลือช้างข้าศึกเข้ามาทำร้าย

กลางช้าง คือ เจ้ารามราฆพ ถือแพนหางนกยูง สองมือคอยให้สัญญาณแก่ทหารและคอยส่งอาวุธ และมีจตุลังบาททำหน้าที่คอยพิทักษ์พระคชาธาร

คนนอกถือหอก คนในถือดาบ คัดเลือกจากขุนนางในกรมพระตำรวจหลวง๔นาย

จตุลังคบาทพิทักษ์พระคชาธาร คนนอกถือหอกคนในถือดาบ  ที่ได้ทำการคัดเลือกจากขุนนางในกรมพระตำรวจหลวง ๔ นายคือ

๑   พระมหามนตรี ประจำ เท้าหน้าขวา
๒   พระมหาเทพ ประจำ เท้าหน้าซ้าย
๓   หลวงอินทรเทพ ประจำ เท้าหลังขวา
๔   หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ เท้าหลังซ้าย
–   หมายเหตุ ตำแหน่งพระที่ประจำเท้าหน้า มีผู้ใต้บังคับบัญชาเป็น ตำแหน่งหลวงที่ประจำเท้าหลัง คือ พระมหามนตรีมีลูกน้อง คือ หลวง อินทรเทพ แล พระมหาเทพมีลูกน้อง คือ
หลวงพิเรนทรเทพ
ทัพช้างหลวงมีดังนี้
๑.   พระยาสีหราชเดโชชัย ขี่พลายโจมไตรภพ เป็นกองหน้า คุมพล ๑๐,๐๐๐
๒.   พระยาพิชัยรณฤทธิ์ ขี่พลายจบไตรจักร เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๓.   พระยาพิชิตนรงค์ ขี่พลายจู่โจมทัพเป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐๐
๔.   พระยาเทพอรชุน ขี่พลายจับโจมยุทธ เป็นเกียกาย คุมพล ๑๐,๐๐๐
๕.   พระยาพิชัยสงคราม ขี่พลายฝ่าผลแมน เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๖.   พระรามกำแหง ขี่พลายแสนพลผ่าย เป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐
หน้าพระคชาธารออกไปปลายเชือก
๑.   ขุนจู่โจมนรงค์ ขี่พลายกุญชรไชย คุมพล เขนทอง ๕๐๐
๒.   ขุนทรงเดช ขี่พลายไกรสรเดช คุมพล เขนทอง ๕๐๐
๓.   พระราชมนู ขี่พลายหัสดินทร์พิชัย คุมพล ปี่กลองชนะซ้ายขวา
๔.   หลวงพิเดชสงคราม ขี่พลายบุญยิ่ง คุมพลดาบโล่และดั้ง ๕๐๐
๕.  หลวงรามพิชัย ขี่พลายมิ่งมงกุฎ คุมพล ดาบโล่และดั้ง ๕๐๐
๖.   พระราชวังสัน (ชาวเปอร์เซียร์) ขี่พลายแก้วมาเมือง คุม อาสา มัวร์ (แขกเปอร์เซียร์) ๕๐๐
๗.   พระเสนาภิมุข (ชาวญี่ปุ่น) ขี่พลายเฟื่องภพไตร คุม อาสาญี่ปุ่น ๕๐๐
๘.   ทหารทะลวงฟันคู่พระทัย  ๑๓๖ นาย**
ดาบเขน                       ๔๒ นาย
ดาบโล่                          ๒๒ นาย
ดาบสองมือ                   ๒ นาย

๗๒ คน (น่าจะเป็นพวกองครักษ์พิเศษ คงจะมีตัว ตายตัวแทน มาเติมให้เต็ม ๑๓๖ คน ตลอดเวลา)”

** อ้างจากนาวิกศาสตร์ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ หน้า ๗๐

หน้าพระคชาธาร ประกอบด้วย หัวหมื่นทนายพระตำรวจดาบสะพายแล่งมีกำลังพล ๕๐๐นาย
ปีกทัพหลวง ประกอบด้วย
๑.   เจ้าพระยามหาเสนา ขี่พลายมารประลัย เป็นปีกขวา คุมพล ๑๕,๐๐๐
๒.   เจ้าพระยาจักรกรี ขี่พลายไฟภัทกัลป เป็นปีกซ้าย คุมพล ๑๕,๐๐๐
๓.   เจ้าพระยาพระคลัง ขี่พลายจักรหิมา เป็นยกกระบัตร คุมพล ๑๐,๐๐๐
๔.   พระราชสงคราม ขี่พลายสังหารคชสิงห์ เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๕.   พระรามรณภพ ขี่พลายมณีจักรพรรดิ เป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐
๖.    พระยาท้ายน้ำ ขี่พลายสวัดิพิชัยเป็นกองหลัง คุมพล ๑๐,๐๐๐
๗.   หลวงหฤทัย ขี่พลายทรงภูบาล เป็นปีกขวา คุมพล ๕,๐๐๐
๘.   หลวงราชภัคดี ขี่พลายภูธร เป็นปีกซ้าย คุมพล ๕,๐๐๐

 

ข้อมูลหน้า ๑๒๘ – ๑๓๐ จากหนังสือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยกองบัญชาการทหารสูงสุด ปี พ.ศ. ๒๕๔๖

 

Posted in เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประวัติศาสตร์ไทย.

Leave a Reply

Your email address will not be published.