ช้างเผือก

เรามารู้จักช้างเผือกให้มากกว่านี้กันเถอะ

เรามารู้จักช้างเผือกให้มากกว่านี้กันเถอะ 

           ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทยมานับร้อยปี ในอดีตมีความสำคัญมาก ตั้งแต่ใช้ในการรบ ยามศึกสงบก็มีส่วนร่วมในพิธีสำคัญต่างๆ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเรากำลังหมายถึงช้างเผือก ช้างเผือกที่ถูกลักษณะคชลักษณ์นั้นหายากมาก จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์มีพระบารมี ในอดีตจึง
มีการเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยการหาช้างเผือก  นอกจากนี้ตามความเชื่อแต่โบราณ ช้างเผือกหากบ้านเมืองไหนมีไว้ครอบครองจะนำพาความอุดมสมบูรณ์ ร่มเย็นมาสู่บ้านเมืองนั้น

ช้างเผือก

           ช้างที่มีลักษณะพิเศษ มีลักษณะเป็นมงคล เราจะรู้จักในชื่อที่เรียกว่า “ช้างเผือก” จริงๆเป็นภาษาที่ชาวบ้านเรียกกัน หากคำสุภาพจะเรียกว่า “ช้างสำคัญ” ในอดีตการพบช้างสำคัญ(ช้างเผือก) หมายถึงความเป็นไปของบ้านเมือง ความอยู่เย็นเป็นสุข ช้างสำคัญ(ช้างเผือก) ยังให้ความคุ้มครองบ้านเมืองได้

**(ช้างสำคัญ(ช้างเผือก)สามารถเตือนภัยที่ จะเกิดแก่บ้านเมืองได้..อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ในการใช้สรรพนามในการเรียกช้าง ถ้าเป็นช้างป่าเรียกว่าตัว  ช้างบ้านเรียกว่าเชือก ช้างสำคัญ(ช้างเผือก)เรียกว่าเชือกหรือช้าง เช่น มีช้างเผือก๓ช้าง

               การคล้องช้างสำคัญ(ช้างเผือก) ในอดีตมีควาญช้างอยู่เป็นจำนวนมากเพราะในอดีตช้างในประเทศไทยยังมีอยู่เยอะ มีเป็นหมื่นตัว ป่ายังอุดมสมบูรณ์ ช้าง๑ ฝูง จะมีอย่างน้อยร้อยตัว การออกไปคล้องช้างแต่ละครั้ง จะนำโดยหมอใหญ่ ชาวบ้านจะเรียกว่า”กำหลวง” โดยการไปแต่ละครั้งจะมีสมาชิกไปด้วยกัน๒๐-๓๐ คน ถ้าหมอใหญที่ฝีมือยังไม่เก่งการออกไปอาจจะไม่ได้เจอช้างเลยหรือพบแต่ช้างผอม แห้ง การออกไปคล้องช้างจะใช้เวลาอยู่ในป่าอย่างน้อย๒เดือนกว่า ในกลุ่มที่ออกไปคล้องช้างจะมีช้างบ้านที่เราเลี้ยงจนเชื่องออกไปด้วย เรียกว่า“ช้างต่อ” ประมาณ๑๕ เชือก โดยมีสมาชิก๒คนต่อช้าง๑เชือก ข้างหน้าเป็นหมอใหญ่ ท้ายเป็นควาญช้าง จะคอยหยิบอุปกรณ์ให้ทางหมอใหญ่อีกที เมื่อออกไปในป่าแล้ว หมอใหญ่จะคอยดูร่องรอยของฝูงช้างว่าเดินช้า เดินกิน หรือกำลังอพยพเพื่อวางแผน หากเจอรอยฝูงช้างแล้วหมอใหญ่จะทำการเดินตามเพื่อวิเคราะห์ว่าช้างจะไปทางไหน เพื่อไม่ให้ฝูงช้างเข้าไปในป่าลึกจนเกินไป การคล้องช้างจะเลือกตัวที่สันทัด ตัวไม่ใหญ่กว่าช้างต่อที่เรามี

ช้างเผือก

                                                                                เมื่อเจอฝูงช้าง และช้างที่ต้องการหมอใหญ่จะไสช้างไปใกล้

            คันจา  ช้าง

                                                                                                                 แล้วนำคันจาคล้องที่ขาช้าง

เมื่อคล้องช้างได้แล้ว จะไสช้างไปใกล้ต้นไม้ใหญ่และทำการผูกช้างไว้ที่ต้นไม้เพื่อให้ช้างเดินไป เดินมาจนเหนื่อยก่อน จากนั้นจะนำทามผูกที่คอช้าง ตอนนี้เชือกจะผูกที่คอช้างต่อกับช้างที่คล้องได้ และนำออกจากป่าต่อไป

 ช้าง

คนโบราณเชื่อว่าช้างสำคัญ(ช้างเผือก) มีเทวดารักษาอยู่   (อ่านเรื่องเล่าช้างสำคัญ(ช้างเผือก)ในรัชกาลที่๙…ที่นี่)

ลักษณะของช้างสำคัญ(ช้างเผือก) มี๑๐ประการคือ

๑ขนมีสีขาว                     ๒ขนหางต้องยาว

๓ตามีขนสีขาว               ๔เล็บมีขนสีขาว

๕อัณฑโกศ                    ๖ช่องแมลงภู่

๗ขุมขน                         ๘เพดานมีสีชมพู

๙งามีสีไข่ไก่ ออกครีมๆ         ๑๐หลังต้องโค้งเหมือนคันธนูตรงออกจากคอ ไม่บุบไม่ยุบ

ช้างเผือกช้างเผือก

ช้างเผือกช้างเผือก

การจะที่ให้ถูกตามหลักคชลักษณ์จะรวมลักษณะสีกายเข้าไปด้วย หากเป็นศุภลักษณะถือว่าดี รวมเป็น ๑๑ประการ ช้างสำคัญ(ช้างเผือก)จะ มีลักษณะคอสั้น หน้าเชิด เหมือนนายช้างนักรบ หัวไหล่หนา อีกอย่างที่ต้องตรวจสอบคือเสียงกรน หากดังเหมือนแตรงอนประจำทิศอรดี ถือว่าสมบูรณ์ตามหลักคชลักษณ์ ๑๐๐% ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าปราบปลื้มที่ในหลวงรัชกาลที่๙ ของเรามีช้างสำคัญ(ช้างเผือก) ตามหลักคชลักษณ์ ๑๐๐%

ช้างสำคัญยัง มีหน้าที่ เมื่อถึงวันสำคัญต้องออกมาร่วมเฉลิมฉลอง เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วันฉัตรมงคล เพื่อประดับเกียรติยศบารมี หากมีแขกบ้านแขกเมืองก็มีหน้าที่ออกมาต้อนรับบ้าง

                     ช้างอยู่คู่ประวัติศาสตร์ชาติไทยมานาน มีความสำคัญมากต่อประทศไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เรามีเอกราชมาถึงทุกวันนี้ หลังจากนี้หวังว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อนๆรักช้างมากขึ้นและช่วยกันอนุรักษ์ เพื่อให้ช้างไม่สูญพันธ์ไปจากประเทศไทยต่อไป

Posted in เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประวัติศาสตร์ไทย.

Leave a Reply

Your email address will not be published.