หลักฐานที่ค้นพบบริเวณ อ.พนมทวน
ชาวบ้านบริเวณ ต.ตระพังกรุได้ปรับพื้นที่เตรียมทำนาทำเกษตรกรรม ทำให้ค้นพบกระดูกช้าง กรามช้าง กระโหลกช้าง และกระดูกคน โบราณ
วัตถุเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อเทียบอายุแล้ว เทียบเคียงกับช่วงยุคสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา จึงทำให้เชื่อกันว่าที่แห่งนี้ เป็นสถานที่จริง ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะ พระมหาอุปราชา และได้สร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือหงสาวดี และนับตั้งแต่ ชนะศึกครั้งนี้ ประเทศสยามก็ร้างจากศึกสงครามหลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก และมิมีผู้ใดกล้ารุกรานสยามประเทศ ทั้งนี้ด้วยพระบารมีและพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
กระดูกช้าง โบราณวัตถุ และ กระพรวน
เครื่องประดับช้าง กระพรวน กระดึง ตรีศูรยอดธง
กระพรวนและหลักฐานทางโบราณคดี ที่พบบริเวณ อ.พนมทวน
เครื่องประดับช้าง กระพรวน กระดึง โซ่ และอาวุณโบราณ
อาวุธโบราณของ้าว หอก ดาบ ง้าวและ ปืนใหญ่ขนาดเล็กสำหรับใช้ยังบนหลังช้างใน สงครามยุทธหัตถี
กระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบเป็นจำนวนมาก ที่เชื่อว่าเป็นเหล่าทหารในสงครามยุทธหัตถี
หากใครสนใจจะศึกษาเพิ่มเติม สามารถเดินทางไปชมได้ทุกวันที่ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี และสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงประกาศอิสระภาพให้ไทยเป็นไท ในการทำสงครามยุทธหัตถี