บ่อน้ำบนเขาสมอแคลง

เขาสมอแคลง สถานที่ฝึกนักรบในสมเด็จพระนเรศวร

 

เขาสมอแคลง สถานที่ซุ่มฝึกนักรบในอดีตของสมเด็จพระนเรศวร

ตามตำราพิชัยสงคราม สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้สร้างขึ้น เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงครอง
พิษณุโลก ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งในบริเวณนั้นพบบ่อน้ำโบราณ ๒บ่อ

บ่อน้ำบนเขาสมอแคลง

 โดยชาวบ้านในบริเวณนั้นเชื่อว่าเป็นสถานที่สำหรับทำความสะอาดดาบ อาวุธ ต่อมาบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง เขาสมอแคลง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก หรือปัจจุบันคือพระมหาธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ โดยสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

                  บูชาคุณงามความดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของบูรพมหากษัตริย์นักรบไทยส่วนยอดที่เป็นดอกบัวของพระมหาธาตุเจดีย์นั้นได้ บรรจุพระบรมธาตุ คือพระนลาต(กระดูกส่วนหน้าผาก) และพระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยนาวาเอก จุลินทร์ เหลือนาค อดีตครูโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ครูโรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมทหารรุ่น๑ ถึงรุ่น๒๗ ซึ่งบ้านเดิมของท่านอยู่ที่บ้านจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ได้อัญเชิญมาจากประเทศปากีสถาน เป็นผู้ริเริ่มการก่อสร้าง พระมหาธาตุฯ   ตามคำ    บอกเล่าในหลักศิลาจาลึกของพญาลิไท จาลึกนครชุมมีข้อความว่า”ให้ลูกหลาน หมั่นกระทำบูชาพระสถูปธาตุเจดีย์พระศรีมหาโพธิเสมอดั่งตนพระเจ้าเรา” จึงได้สร้างไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ทำการสักการะสืบต่อไป การก่อสร้างนี้ได้ นำศิลปะของช่างยุคกรุงสุโขทัยมาเป็นต้นแบบในการก่อสร้างที่วัดแห่งนี้จะมี จุดชมวิวซึ่งอยู่ในชัยภูมิที่ดีมาก โดยหากมองเป็นระยะทางไกลหากมีการยกทัพมาจะมองเห็นได้ชัด

วิวเขาสมอแคลง

 

 

 เจดีย์เขาสมอแคลง

เขาสมอแคลง

 

และเมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาสมอแคลงจะพบเจดีย์ยอดด้วน

 มีเรื่องเล่าว่า “เจดีย์บนยอดเขาสมอแคลง ผู้สร้างคือพระยาจิตรไวย สร้างเพื่อบรรจุพระธาตุเจ้าของพระอุบาลีเถระและพระศิริยานนท์ เจดีย์บนเขามีการสร้างและซ่อมแซมบูรณะหลายครั้ง การขุดค้นพบทางโบราณคดีและการขุดแต่งโบราณสถานบนยอดเขาสมอแคลง หลักฐานที่พบคือ

 เจดีย์ทรงลังกา มีฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ๓ ชั้น หลังจากนั้นเป็นฐานย่อแปดเหลี่ยม แล้วขึ้นเป็นองค์ระฆัง แต่ไม่พบบัลลังก์คือ จากองค์ระฆังก็ถึงปล้องไฉนรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยตอน ปลายหรือสมัยอยุธยาตอนต้น หลักฐานนี้แสดงว่าน่าจะมีการบูรณะปฎิสังขรณ์เจดีย์ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งอาจเป็นสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถก็ได้”

***ข้อมูลกรมศิลปากร

 เจดีย์เขาสมอแคลง

เจดีย์เขาสมอแคลง

เจดีย์เขาสมอแคลง

 

เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวิวสวยงามมากค่ะ ไปที่นั้นแล้วเห็นถึงความยากลำบากของบรรพบุรุษกว่าจะรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ ให้ลูกหลาน ต้องอาศัยและซุ่มอยู่ตามป่าตามเขา

อาหารการกิน ที่อยู่อาศัยก็ลำบาก ยิ่งทำให้รักประเทศไทยและบรรพบุรุษยิ่งนัก ที่นี่มีจุดชมวิวที่สวยงามมองไปไกลสุดลูกหูลูกตาจริงๆ แอบนึกว่าเราเป็นทหารซุ่มดูทัพข้าศึกแอบอินกับสถานที่นิดนึง

ที่นี่อาจจะซับซ้อนหน่อยนะค่ะ แต่หาไม่ยากค่ะ

 

บรรณานุกรมเว็บไซต์

หน้าแรก

Posted in ตามรอยพระนเรศวร.

Leave a Reply

Your email address will not be published.