เจดีย์ยุทธหัตถี-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

เจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

             สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสนพระทัยในหนังสือเก่า ที่กล่าวถึงสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีไว้ หลังทรงทำยุทธหัตถี ชนช้างชนะพระมหาอุปราชา ฟันมหาอุปราชาสิ้นชีพบนคอช้าง สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสให้ก่อพระเจดีย์สถานสวมศพพระมหาอุปราชาไว้ ณ ต.ตะพังกกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับสั่งให้พระยากาญจนบุรี(นุช) ออกสืบหาพระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างไว้  

พระนเรศวร-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

 พระนเรศวร ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

 
เจดีย์ยุทธหัตถี-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

เจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี


ให้สืบหาดูว่ามีพระเจดีย์โบราณที่ขนาดหรือรูปทรงสัณฐานสมกับเป็นของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างไว้  เจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี พระยากาญจนบุรีออกตรวจและรายงานว่าบ้านตระพังกรุมีมาแต่โบราณเป็นที่ดอน ต้องอาศัยใช้บ่อน้ำ มีบ่อกรุอิฐข้างในมีน้ำ ซึ่งคำดบราณเรียกว่า “ตระพังกรุ” อยู่หลายบ่อ ถามชาวบ้าว ผู้เฒ่าผู้แก่แถวนั้นก็ไม่มีใครทราบ พระยากาญจนบุรีจึงออกสำรวจต่อเอง ก็พบเพียงแต่พระเจดีย์องค์เล็กๆ ไม่น่าจะเป็นลักษณะที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง จึงแจ้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าไม่พบ

ภาพสลักที่ฐานเจดีย์ยุทธหัตถี-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

ภาพสลักที่ฐานเจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี


ต่อมาพระยาสุพรรณฯ(พระยาสุนทรบุรีฯ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ) เข้ามากรุงเทพฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงเล่าเรื่องพระเจดีย์ยุทธหัตถีและให้ออกสืบหาพระ เจดีย์ที่ต.หนองสาหร่าย ในแขวงเมืองสุพรรณฯ เมื่อออกสืบไม่ถึงเดือนจึงรายงานกลับมายังกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ในต.หนองสาหร่าย ทางทิศตะวันตก เมืองสุพรรณฯ ชาวบ้านบอกว่ามีพระเจดีย์โบราณ อยู่ในป่าที่เรียกกันว่า “ดอนพระเจดีย์” เมื่อพระยาสุรรณฯ โดยการนำทางของชาวบ้านไปถึงที่พระเจดีย์โบราณ เมื่อไปถึงยังมองไม่เห็นพระเจดีย์ว่าอยู่ที่ไหนเนื่องจากมีต้นไม้ปกคลุมมิด ทั้งองค์ ชาวบ้านจึงถางต้นไม้เข้าไปจึงมองเห็นอิฐที่ก่อฐาน พระยาสุพรรณฯจึงระดมคน ช่วยกันตัดต้นไม้ที่ปกคลุมออกหมด แล้วใช้ช่างฉายรูปพระเจดีย์ ส่งไปยังกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งลักษณะเป็นพระเจดีย์มีฐานทักษิณเป็น๔เหลี่ยม ๓ชั้น ขนาดฐานทักษิณชั้นล่างกว้างยาว๘ วา แต่องค์พระเจดีย์เหนือ ฐานทักษิณชั้นที่๓ ขึ้นหักพังเสียรูปแล้ว กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงนำเรื่องกราบบังคมทูลพระบาทการค้นพบนี้แด่ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระปีติโสมนัส ตรัสว่า พระเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติของเมืองไทย พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จไปสักการบูชาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖

    หลังจากพระราชพิธีการบวงสรวงเจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริที่บูรณะพระเจดีย์ใหม่ โดยโปรดให้กรมศิลปากรออกแบบ แต่เนื่องจากติดขัดเรื่องงบประมาณ การบูรณะจึงหยุดชะงักไป ๑๐ พ.ย. ๒๔๙๓ จอมพลผิณ ชุณหวัญ ริเริ่มโครงการอนุสรณ์ดอนเจดีย์อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ระลึกถึงบรรพชนที่ได้เสียสละเลือดเนื้อ เพื่อชาติ บ้านเมือง โดยมอบให้อธิบดีกรมการศาสนาทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเจดีย์ยุทธหัตถี
๒๑ ธ.ค. ๒๔๙๓ คณะกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชนมีมติเห็นสมควรบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์และ นำเสนอคณะรัฐมนตรี ปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง โดยให้ดำเนินการร่วมกับนายช่างกรมศิลปากรและได้รับเงินจากการบริจาคของ ประชาชน
๒๓ ม.ค. ๒๔๙๕ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์ กระทรวงวัฒนธรรมเสนองบประมาณให้ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และอนุสาวรีย์๒.๕ล้านบาท สภากลาโหมจัดสรรงบประมาณให้ ส่วนที่เหลือคณะกรรมการขอมติคณะรัฐมนตรีเพื่อทำการเรี่ยไรจากประชาชน

๒๕ มี.ค. ๒๕๙๕ คณะกรรมการบูรณะอนุสรณ์ ดอนเจดีย์ เห็นชอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ศาสตร์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ เป็นรูสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๑

๖ พ.ค. ๒๔๙๖ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้คณะกรรมการบูรณะ อนุสาวรีย์ ดอนเจดีย์ และเห็นชอบกับรูปแบบเจดีย์ที่คณะกรรมการพิจารณารูปแบบเจดีย์นำเสนอ คือ รูปแบบเจดีย์แบบลังกา ตามแบบเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา ขนาดฐาน๓๖ เมตร สูงจากพื้นถึงยอด๖๖เมตร โดยมีมติให้กรมศิลปากร ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๖ ส.ค. ๒๔๙๗

๒๕ ม.ค. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันและสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปดำเนินการบวงสรวง และ เปิดพระบรมรูปอนุสาววรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ภายใน-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี-

ภายใน ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

ภายใน-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี-

ภายใน ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี.

บรรณานุกรมเว็บไซต์

หน้าแรก

 

Posted in ตามรอยพระนเรศวร.

Leave a Reply

Your email address will not be published.