หลักฐานแวดล้อมบริเวณอ.พนมทวน
วัดบ้านน้อย วัดเก่าแก่ บริเวณสงครามยุทธหัตถี ตามพงศาวดารฉบับวันวลิตได้กล่าวไว้ว่า การทำสงครามยุทธหัตถีอยู่ใกล้บริเวณวัดเก่าแก่ ห่างประมาณ๑ กิโลเมตร โดยในปัจจุบันได้ค้นพบ วัดเก่าแก่ ชื่อวัดบ้านน้อย อยู่ห่างประมาณ ๑,๕๕๐ เมตรจากเจดีย์ยุทธหัตถี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งที่วัดบ้านน้อยแห่งนี้มี
ศิลปการก่อสร้างเป็นแบบอยุธยาอย่างชัดเจน เจดีย์ระฆังคอดกว่าส่วนบนเป็นเจดีย์รุ่นเดียวกับปรางค์ยอดบานดังว่า สร้างในยุคสมัยเดียวกันที่วิหารหลังเจดีย์พบกระเบื้องเชิงชายคาแบบอยุธยา ซุ้มประตูมีลวดลายเป็นเครือเดียว อันปรากฏที่ปรางค์ใกล้เจดีย์ยุทธหัตถีด้วยพระ พุทธรูปประธานในวิหารทำด้วยหินทรายสีแดงแบบอยุธยาตอนกลางเสาประดับที่ซุ้ม ประตูเป็นเสาแปด เหลี่ยมบัวกลุ่มเป็นกลีบ เป็นเสาอยุธยาศิลปของวัดบ้านน้อย มีความเกี่ยวพันกับกลุ่มเจดีย์ใกล้กับเจดีย์ยุทธหัตถีแทบเป็นอันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีแล้ว ก็ได้สร้างเจดีย์ซึ่งมีปรางค์เป็นประธาน สำหรับสวมพระศพพระมหาอุปราชกับเจ้านายพม่าที่สิ้นพระชนม์ในสงครามยุทธหัตถี และทรงได้สร้างวัดขึ้นด้วยในอาณาบริเวณเดียวกันเพื่ออุทิศส่วนกุศลเนื่องจาก ในสงครามครั้งนี้มีทหารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และยังรวมถึงช้าง ม้าที่ล้มตาย ซึ่งในบริเวณนี้ชาวบ้านก็จะยังมีการขุดพบกระดูกอยู่เรื่อยๆและชาวบ้านจะมี การรวบรวมมาทำพิธีกรรมอยู่เสมอๆ และไม่มีแนวโน้มว่าจะหมด
คัดลอกจากบทความ “ไปพิสูจน์เจดีย์ยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์” โดย น. ณ.ปากน้ำ นิตยสาร “ชาวกรุง” เล่ม๗ ประจำเดือน เมษายน ๒๕๑๖
พระเจดีย์ ที่พบบริเวณ อ.พนมทวน
และในบริเวณนั้นยังค้นพบพระเจดีย์ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเพื่ออุทิศให้ทหารที่เสียชีวิตในสงครามยุทธหัตถี องค์กลางสร้างใหทหารไทย องค์ซ้ายและขวา สร้างให้ทหารพม่าและมอญ
ถังน้ำมนต์เก่า ใช้ทำพิธีก่อนทำศึกยุทธหัตถี
ในบริเวณวัดบ้านน้อยยังพบถังน้ำมนต์เก่าแก่ เชื่อกันว่าเป็นถังน้ำมนต์ที่ใช้ทำพิธีปลุกเสก เอาอาวุธแช่ทำพิธีก่อนออกศึกและเพื่อความคงกระพันชาตรี
บริเวณอ.พนมทวนมีต้นข่อย ต้นไม้ขนาดใหญ่ เชื่อว่าเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ ตามพงศาวดารกล่าวว่าพระมหาอุปราชาประทับอยู่บนคอช้างรอฟังข่าวการรบอยู่ใต้ ร่มต้นข่อย ต้นข่อยห่างจากองค์พระเจดีย์ประมาณ ๘๐ วา (๑๖๐ เมตร) แม้ว่าปัจจุบันต้นเดิมถูกเผาไป คงเหลือเพียงลำต้นที่แตกขึ้นใหม่แต่ก็ยังมีภาพที่มีผู้ถ่ายไว้ก่อนถูกเผา เป็นต้นขนาดใหญ่ขนาดหลายคนโอบ
ต้นข่อยถ่ายโดยคุณนเรศ นโรปกรณ์ เมื่อครั้งที่ได้ค้นพบพระเจดีย์
ต้นข่อยที่พระมหาอุปราชาทรงใช้พักช้างก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงท้า ชนช้าง รูปนี้ถ่ายโดยคุณนเรศ นโรปกรณ์ เมื่อครั้งที่ได้ค้นพบพระเจดีย์
ต้นข่อยปัจจุบัน
ปัจจุบันเป็นต้นข่อยลูกหลานของต้นแม่ ในปัจจุบันยังมีความพยายามให้ต้นข่อยมีการแทงหน่อใหม่ออกมา
วัดบ้านน้อยจึงเป็นหลักฐานแวดล้อมที่สำคัญเปรียบเสมือนกุญแจไขปริศนาว่า เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่ไหน สถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา ซึ่งอายุสมัยของพระเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลางให้เชื่อมโยงถึงกันได้โดยตลอด ซึ่งแต่เดิมหมวดหมู่เจดีย์รุ่นนี้ขาดหายไปแม้ในอยุธยาก็พังเสียหายหมดยังมี ภาพเขียนเท่านั้น แต่กลับมาค้นพบเพื่อเติมที่อ.พนมทวน ใบเสมา อุโบสถวัดบ้านน้อย
ใบเสมา อุโบสถวัดบ้านน้อย
แกะสลักจากหินทรายแดง สมัยอโยธยา สุพรรณภูมิ พุทธศตวรรษที่๑๗ – ๑๘ จำหลักเป็นรูปพญาครุฑและสองวานรในป่าหิมพานต์ มีลายดอกไม้ในกรอบบนปลายยอด ด้านหลังเรียบ แกะลายกระหนกที่สันขอบฐานล่าง ลักษณะลวดลายป่าหิมพานต์ทำให้แปลกจากที่เคยพบมีเพียงแผ่นเดียวที่เหลืออยู่ น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่าวัดบ้านน้อยแห่งนี้ คือ วัดร้างเก่าแก่ แต่สมัยอโยธยา สุพรรณภูมิ (ใบเสมาหินทราย-หลักฐาน)
บูรณะใหม่ เมื่อสมัยอยุธยาตอนกลาง (เจดีย์ระฆังปากคอด-หลักฐาน)
ซึ่งหลักฐานใบเสมานี้ พระสมุห์ บุญยิ่ง จนฺทวณฺโฌ เจ้าอาวาสวัดบ้านน้อยเป็นผู้อนุรักษ์ไว้ และมอบให้เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ยุทธหัตถีดอนเจดีย์
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐
ด้วยหลักฐานทางโบราณวัตถุ โครงกระดูกมนุษย์ ซากกระดูก ช้าง ม้า อาวุธโบราณ รวมทั้งหลักฐานแวดล้อม วัดบ้านน้อย ซึ่งลักษณะในการก่อสร้างพิสูจน์แล้วว่าเป็นลักษณะสมัยอยุธยา ทางกรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เจดีย์ยุทธหัตถี บริเวณตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๑๑๓ ตอนพิเศษ ๓ ง วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ พื้นที่ ๖๘ ไร่ ๑๘ ตารางวา