พระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่แท้จริงตั้งอยู่ที่ไหน
ปัจจุบันยังมีการถกเถียงจากนักวิชาการพระเจดีย์ยุทธหัตถีที่ สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างว่าตั้งอยู่ที่ใดกันแน่ สถานที่จริงที่หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาแม่ทัพของทหารกรุงหงสาวดี ซึ่งสถานที่ที่ยังถกเถียงกันถึงปัจจุบันคือ
๑.บ้านดอนทำพระในอดีต หรือ บ้านดอนเจดีย์ในปัจจุบัน อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
๒.บ้านตระพังกรุในอดีต หรือ บ้านดอนเจดีย์ในปัจจุบัน อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
ในปัจจุบันมีการเสนอข้อมูลเพิ่มว่าอีก คือที่
๓.บริเวณทุ่งเจดีย์ภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา
แต่หลังจากพิจารณาถึงหลักฐานโบราณวัตถุและ หลักฐานแวดล้อม โดยอาจารย์ ประยูร อุลุชาฏะ ท่านได้รับปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี๒๕๒๕ ท่านเป็นนักโบราณคดี นักเขียน ศิลปิน และที่สำคัญท่านได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ปี๒๕๓๕ โดยท่านได้เดินทางพร้อมกับนักโบราณคดีมาพิสูจน์เจดีย์ยุทธหัตถี ที่ต.ดอนเจดีย์ เมื่อวันพุธที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๖ สำรวจและถ่ายภาพเจดีย์ยุทธหัตถี ปรางค์ประธานฯ และวัดบ้านน้อย หลังจากนั้นได้เขียนบทความพร้อมภาพประกอบลงตีพิมพ์ในนิตยสารชาวกรุง เล่ม๗ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๑๖ ท่านได้ยืนยันโดยเอาเกียรติยศชื่อเสียงในวิชาชีพของท่านเป็นเดิมพันว่า “เจดีย์ร้างที่พนมทวนองค์นี้ คือเจดีย์ยุทธหัตถีอย่าง แท้จริง ภาพนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภาพทั้งหมดที่ท่านได้ถ่ายมาด้วยตัวเองในวันนั้น ฟิล์มต้นฉบับทั้งหมดยังถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพดีเยี่ยมโดย ศูนย์ข้มูลข่าวสารฯ เมืองโบราณ ซึ่งได้เอื้อเฟื้อต้นฉบับภาพถ่ายส่วนหนึ่งให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ เพียงเห็นพระเจดีย์แวบเดียว
พระเจดีย์ยุทธหัตถี พนมทวน
ข้าพเจ้าก็รู้ว่าเป็นเจดีย์สมัยอยุธยาตอนกลาง ทั้งนี้เพราะว่าได้คุ้นเคยกับพระเจดีย์อยุธยามานานมาก ใช้เวลาตรวจสอบอยุธยามาไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี เจดีย์ยุทธหัตถี ที่ ดอนเจดีย์ใหม่เป็นรูปทรงกลมตลอด มิใช่แปดเหลี่ยม แม้ดูภายนอกจะเห็นเหมือนไม่มีสอปูน คือสอด้วยดิน ปินขึ้นไปบนเจดีย์ ตรวจสอบโครงสร้างชั้นในพบว่าเป็นการสอปูนชนิดบางมาก เทคนิคนี้จะพบมากในศิลปอยุธยาตอนกลาง และปลายของตอนต้นทั่วไป และเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นเจดีย์ทรงกลมประเภทก่อตัน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเจดีย์และกลุมเจดีย์ ที่ดอนเจดีย์ คือเจดีย์ยุทธหัตถีที่แท้จริง และเอาเกียรติยศ จากการที่ได้ศึกษาศิลปมาอย่างจำเจที่สุดเป็นประกัน”
ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ)
เจดีย์ยุทธหัตถี พนมทวน