ในอดีตกษัตริย์พม่า จะมีพระอาจารย์ประจำพระองค์เสมอและต้องมีพระอาจารย์สายวิปัสนากรรมฐานเท่านั้น ต่างกับไทยที่ศาสนาพุทธมาจากทางลังกาจึงไม่เน้นสายวิปัสนากรรมฐาน ส่วนใหญ่พิธีการจะมีของพราหมณ์ปนเข้ามา พระมหาเถรคันฉ่องทรงเป็นพระมอญสายพุทธเถรวาทที่เคร่งครัดและเจริญสติวิปัสนากรรมฐานอยู่เสมอ และทรงเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าบุเรงนอง ทรงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของพระเจ้าบุเรงนองสูงมาก หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตและพระมหาเถรคันฉ่องทรงเลือกที่จะไปจำวัดที่ชานเมืองแรงซึ่งเป็นเมืองมอญแทน
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้รับการฝึกฝนวิปัสนากรรมฐานจากพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งเป็นพระสายวิปัสนากรรมฐาน การปฏิบัติขณิกสมาธิ(สมาธิชั่วขณะตามจุดต่างๆ) ทำให้พระองค์ทรงมีจิตที่นิ่งและไวกว่าคนปกติเพราะฉะนั้นในขณะเมื่อพระองค์สู้รบ แม้พระองค์จะถูกรุมล้อมจากทหารข้าศึกนับร้อย พระองค์ก็ทรงสามารถต่อสูและรอดพ้นมาๆด้ทุกครั้ง หากเพื่อนๆที่ได้ชม”ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ภาคแรก ตอนที่พระมหาเถรคันฉ่องตวัดไม้เท้าไปเกี่ยวเคียวในพระหัตถ์พระนเรศวรแล้วขว้างไปปักที่ต้นไม้ หลายคนคงคิดว่าเป้นเรื่องเหนือความสามารถของมนุษย์ แต่สำหรับผู้ที่ฝึกจิตถึงระดับที่นิ่งและไวพอ สามารถทำเช่นนั้นได้จริงๆ พระมหาเถรคันฉ่องทรงถ่ายทอดวิชาความรู้ทางธรรมแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ควบคู่ไปกับการสอนทางโลกเช่นฝึกการใช้อาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกจิตและเชิงยุทธ์ตามตำราพิชัยสงครามแด่พระนเรศวรอย่างหมดเปลือกชนิดไม่เคยสอนให้ใครมาก่อน แม้แต่ราชบุตรของฝ่ายพม่าเองและยังทรงช่วยสมเด็จพระนเรศวรรอดพ้นจากการลอบปลงพระชนม์ ตลอดวางฤกษ์ยามในวันประกาศอิสรภาพ การฝึกฝนเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีพื้นฐานทางจิตไม่มีทางพัฒนาตนถึงขั้นอัจฉริยะบุคคลได้
พระองค์ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนสายเถรวาทผู้ทรงเคร่งครัด พระองค์โปรดให้ใช้วัดใหญ่ชัยมงคลเป็นวัดสำหรับปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน พระองค์ทรงโปรดให้คัดลอกพระไตรปิฏก๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ใหม่ทั้งหมด ในช่วงเข้าพรรษาพระองค์มีรับสั่งทุกคนห้ามดื่มสุรา ให้ประชาชนทุกคนตั้งอยู่ในศีล๕ ศึกษาในแก่นธรรม พระองค์ทรงใช้หลักพระพุทธศาสนาในการปกครองบ้านเมือง
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม พรหมวิหาร๔ พระองค์ทรงมีพระเมตตา ความรักและความปราถนาดีแก่ประชาชนของพระองค์ รวมไปถึงชนชาติอื่นด้วย เช่นชาวมอญที่หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระองค์ทรงพระราชทานที่ดิน ทรัพย์สินมากมายให้ชาวมอญเหล่านั้นได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอย่างมีความสุข ทรงปราถนาให้ประชาชนพ้นทุกข์ แม้พระองค์ทรงต้องเหน็ดเหนื่อยพระวรกาย กรำศึกสงครามตลอดพระชนมชีพของพระองค์ก็ตาม พระองค์มีพระทัยที่เยือกเย็นไม่มีจิตริษยาใดๆ และวางพระทัยเป็นกลาง เพราะทรงพิจารณาเห็นว่าใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฏแห่งกรรม
[button size=”large” color=”#FFFFFF” bgcolor=”#A6CE39″ url=”https://pimpatchara.com/พระนเรศวรปฏิบัติธรรม/”]สมเด็จพระนเรศวรกับการวิปัสสนากรรมฐาน[/button]
[button size=”large” color=”#FFFFFF” bgcolor=”#A6CE39″ url=”https://pimpatchara.com”]หน้าแรก[/button]