สมเด็จพระอริยวงศญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิปดี ศรีสมณุตมาปรินายก
ติปีฎกธราจารย์สฤษติ์ ขัตติยสารสุนทร มหาคณาฤศรอุดมวาม คณะสังฆรามคามวาสี
พระมหาเถรคันฉ่อง รูป ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา
พระมหาเถรคันฉ่อง เป็นพระเถระชาวมอญ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง หลังจากที่ท่านได้กราบทูลสมเด็จพระนเรศวรเรื่องการคิดปองร้ายของทางกรุงหง สาวดี และสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงหลั่งน้ำเพื่อประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครงเมื่อพุทธศักราช ๒๑๒๗
ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรได้ทูลเชิญพระมหาเถรคันฉ่องมายังกรุงศรีอยุธยาและทรงขอพระราชทานความดีความชอบให้ พระมหาธรรมราชาทรงแต่งตั้งเป็น “สมเด็จพระพนรัต” ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ประทับ ณ วัดเจ้าพระยาไทย หรือ วัดป่าแก้ว ในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่า ณ บ้านดอนเจดีย์ ตระพังกรุ พนมทวน จ.กาญจนบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้ง องค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ต่อมานานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดแห่งนี้ได้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะแต่งตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาในไม่นาน
*** ที่มา ณ ดอนเจดีย์ พนมทวน จ.กาญจนบุรี
พระมหาเถรคันฉ่อง รับบทโดย สรพงษ์ ชาตรี ในภาพยนต์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เรื่องราวของสมเด็จพระพนรัต ได้กลับมาเป็นที่สนใจของชาวไทยและชาวพุทธมากขึ้นอีกครั้งเมื่อ พระธรรมสิงหบุราจารย์หรือที่รู้จักในนาม “หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี” พระสงฆ์ที่มีประชาชนเลื่อมใสเป็นจำนวนมากในเรื่องการวิปัสสนากรรมฐาน คำสอนที่ท่านมักจะสอนลูกศิษย์อยู่เสมอคือ “สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน” ท่านได้เล่าว่าท่านได้มีโอกาสพบกับสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว และเป็นผู้เผยแผ่บทพาหุงมหากา ซึ่งพาหุงนี้คือบทสวดที่สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราช วังและในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย
พระมหาเถรคันฉ่อง ณ ดอนเจดีย์ พนมทวน
คาถาบูชาพระมหาเถรคันฉ่อง
ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงพระมหาเถรคันฉ่อง
พุทธะ เอหิงกัง ธัมมะ อะเสหิตัง สังฆะ เตสิ ขังขัง
ณ ดอนเจดีย์ พนมทวน
ขณะที่พระมหาเถรคันฉ่องจำวัดที่อยุธยา ท่านทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมอญ พำนักที่วัดศรีมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง หลังจากนั้นวิปัสสนากรรมฐานก็ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อพระมหากษัตริย์ไทย
มีการวิเคราะห์กันว่าสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้วคือคนละคนกับพระมหาเถรคันฉ่อง แม้ส่วนใหญ่คิดว่าเป็นพระองค์เดียวกัน แต่ในปัจจุบันข้อนี้ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้