ถวายพรพระ (อิติปิ โสฯ)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.(พระพุทธคุณ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.(พระธรรมคุณ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.(พระสังฆคุณ)
คำแปล บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส )
สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี )
โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ) สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )
คำแปล บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )
คำแปล บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว ) อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเณยโย ( เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ) อัญชะลีกะระณีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )
พระคาถาพาหุง ฯ ชัยมงคลคาถา
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล )พญามารเนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้าง ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยธรรม วิธี มีทานบารมี เป็นต้น ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) อาฬวกยักษ์ผู้กระด้าง ปราศจากความอดทน ดุร้ายสู้รบกับพระพุทธเจ้าอย่างทรหดยิ่งกว่ามารตลอดราตรี พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยขันติวิธีที่ทรงฝึกฝนมาดี ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) พญาช้างชื่อ นาฬาคิรี ตกมัน ดุร้ายยิ่งนัก ประดุจไฟป่า จักราวุธ และสายฟ้า พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีรดด้วยน้ำคือเมตตา ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) โจรองคุลิมาล ถือดาบเงื้อง่าวิ่งไล่ฆ่า พระพุทธองค์สิ้นระยะทาง ๓ โยชน์ พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจเอาชนะได้ราบคาบ ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) นางจิญจมาณวิกา เอาไม้กลมๆ มาผูกท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ ใส่ร้ายพระพุทธเจ้าท่ามกลางฝูงชน พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยวิธีสงบระงับพระหฤทัยอันงดงาม ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) สัจจกนิครนถ์ผู้ถือตัวว่าฉลาด เป็นนักโต้วาทะชั้นยอด สละเสียซึ่งสัจจะ ตั้งใจมาได้วาทะหักล้างพระพุทธองค์ เป็นคนมืดบอดยิ่งนัก พระจอมมุนีผู้สว่างจ้าด้วยแสงปัญญาทรงเอาชนะได้ ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) พญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก พระจอมมุนีทรงมีพุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะพุทธโอรส ไปปราบด้วยวิธีแสดงฤทธิ์ที่เหนือกว่า ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัมมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ ฯ
(คำแปล) พรหมชื่อพกา ถือตัวว่ามีความบริสุทธิ์ รุ่งเรืองและมีฤทธิ์ ยึดมั่นในความเห็นผิด ดุจมีมือถูกอสรพิษขบเอา พระจอมมุนีทรงเอาชนะได้ด้วยญาณ ด้วยเดชแห่งชัยชนะนั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตฺวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ
(คำแปล) คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้าน พึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่งพระนิพพานอันเป็นสุข
ชัยปริตร (มหากาฯ)
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม* ชะยะมังคะลัง ฯ
(คำแปล)พระโลกนาถผู้ทรงพระมหา กรุณาธิคุณ ทรงบำเพ็ญบารมีครบถ้วนเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ด้วยสัจวาจานี้ ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ
ชะยันโตโพธิยา มูเล สักยานัง นันทิ วัฑฒะโน เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ (ถ้าสวดให้คนอื่นเปลี่ยนเป็น ตะวัง วิชะโย โหหิ) ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
(คำแปล)ขอข้าพเจ้าจงชนะ เหมือนพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่เคารพรักของเจ้าศากยะทรงชนะ ณ ควงไม้โพธิ์ ขอข้าพเจ้าจงชนะได้รับชัยมงคลเถิด
อะปะราชิตะ ปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะ ติฯ
(คำแปล) [ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุถึงความ เป็นเลิศ เบิกบานใจ] เหมือนพระพุทธเจ้าบรรลุธรรมอันประเสริฐ เบิกบานพระทัยเหนือบัลลังก์แห่งชัยชนะ ณ พ่างพื้นปฐพีอันประเสริฐเลิศแผ่นดิน เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏ ฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ (อ่านว่า พรัมมะ) จาริสุ
(คำแปล) [วันที่ทำความดีทางกาย วาจา ใจ] เป็นฤกษ์ดี มงคลดี ยามรุ่งดี ยามตื่นดี ขณะดี ครู่ดี ทานที่ถวายแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์[ในวันนั้น]เป็นทานดี
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะ ทักขิณา นิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ
(คำแปล) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม และความตั้งใจ[ที่ทำในวันนั้น]เป็นสิ่งที่ดี เมื่อทำความดีแล้ว ย่อมได้รับผลดี
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง (ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน)
รักขันตุ สัพพะ เทวะตา (ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน)
สัพพะพุทธานุภาเวนะ (ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง)
สะทา โสตถี ภะวัน ตุ เม* ฯ (ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง (ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน)
รักขันตุ สัพพะ เทวะตา (ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน)
สัพพะธัมมานุภาเวนะ (ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง)
สะทา โสตถี ภะวัน ตุ เม* ฯ (ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ)
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง (ขอสรรพมงคล จงมีแก่ท่าน)
รักขันตุ สัพพะ เทวะตา (ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน)
สัพพะธัมมานุภาเวนะ (ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง)
สะทา โสตถี ภะวัน ตุ เม* ฯ (ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ)
(* ถ้าสวดให้คนอื่น ให้เปลี่ยนจากคำว่า เม เป็น เต)