พระนเรศวร

คุณสมบัติมหาบุรุษในสมเด็จพระนเรศวร

                       ในหนังสือชื่อมหาบุรุษ แต่งโดย พลตรี หลวง วิจิตรวาทการ ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมคุณสมบัติของมหาบุรุษทั้ง ๔๐ ข้ออย่าง
ละเอียด ไว้ให้ผู้สนใจได้ศึกษา และทำความเข้าใจ ในหนังสือยังแนะเคล็ดลับความสำเร็จและความยิ่งใหญ่ของบุคคลต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในอดีต  หากเราวิเคราะห์ทั้ง ๔๐ ข้อ จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีคุณสมบัติมหาบุรุษครบทั้ง๔๐ ประการ โดยมารายละเอียดดังนี้คะ

พระนเรศวร

๑ ความเป็นผู้อนามัย ไม่มีปรากฎหลักฐานว่าพระองค์ทรงพระชวรอย่างรุนแรง แม้พระองค์จะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในป่าเขาเพื่อทำศึกสงคราม ถึงแม้ยุคนั้นจะมีโรคร้ายที่ยังรักษาไม่หายเช่นไข้ป่า โรคฝีดาษแสดงให้เห็นถึงพระสุขภาพที่แข็งแรงของพระองค์

๒ ความเป็นผู้ไม่ตื่นตระหนกง่ายๆ พระองค์ทรงมีสติอยู่เสมอแม้ว่าภัยนั้นจะเข้าใกล้ตัว เช่นตอนที่ช้างของพระองค์อยู่ท่ามกลางทหารพม่า หรือ    เหตุการณ์ที่พระองค์ถูกทหารพม่าของค่ายลักไวทำมูห้อมล้อมไว้

๓ เป็นผู้มีใจเบิกบาน พระองค์ทรงโปรดทะเลและดนตรียามว่างจากศึกสงครามจะทรงดนตรีอยู่เสมอ และทรงเคยแล่นเรือในทะเลอย่างสบายพระทัยติดต่อถึง๒๖ วัน เป็นช่วงเวลาสั้นๆที่พระองค์ได้ทรงพักผ่อนตลอดพระชนม์ชีพพระองค์ที่ทรงทำศึกตลอด

๔ มีจุดมุ่งหมาย พระองค์ทรงมีจุดมุ่งหมายที่จะกอบกู้เอกราชนับตั้งแต่พระองค์ทรงหนีจากกรุงหงสาวดี

๕ ไม่รู้จักหมดหวัง เช่นเมืองครั้งทรงตีกรุงหงสาวดีหรือตองอูไม่สำเร็จ ไม่ได้ทำให้พระองค์ทรงหมดหวังเลย

๖ ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบาก นับตั้งแต่พระองค์ทรงประกาศอิสรภาพ ตลอดพระชนมชีพพระองค์ทรงประทับอยู่วังเพียง๒ปีเศษ นอกนั้น    พระองค์ทรงประทับอยู่ค่ายทหาร ในป่าตลอด  เครื่องอำนวยความสะดวกก็ไม่ได้มีเยอะเหมือนยุคปัจจุบัน

๗ มีหัวใจเข้มแข็ง ข้อนี้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันเป็นอย่างดี

๘ ตรงต่อเวลา พระองค์ทรงเน้นเรื่องเวลามาก เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้เป็นไปตามแผนและทำให้ทรงชนะศึก โดยเมื่อครั้งที่ทรงตีเมืองคัง    พระองค์ใช้กำหนดเวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา ใช้พลุในการส่งสัญญาณ เนื่องด้วยพระองค์ทรงวางแผนไว้เป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายตรงข้ามคาดไม่ถึง

๙ เป็นคนขยัน เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าพระองค์ทรงใช้เวลาดึกดื่นเที่ยงคืนจนเช้ามืดเสด็จไปตามที่ต่างๆในอยุธยาเพื่อตรวจดูความสงบเรียบร้อย    ของบ้านเมือง เื่มื่อมีศึกสงครามพระองค์ทรงบัญชาการจนข้ามวันข้ามคืนเสมอ มีหลายครั้งที่ไม่ทรงบรรทมเลย พระองค์พร้อมหน่วยรบเคลื่อนที่    เร็วเข้าโจมตีค่ายพม่ากลางดึกคืนนั้นทันที

๑๐ มีความเสมอต้นเสมอปลาย ก่อนขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงย้ำกับขุนนางถึงความระเบียบเด็ดขาดของพระองค์ เมื่อทรงครองราชย์พระองค์ยัง       ทรงปฏบัติตนเสมอต้นเสมอปลาย

๑๑ มีสมาธิ พระมหาเถรคันฉ่องทรงเป็นผู้วางรากฐานการฝึกสมาธิแด่พระองค์ ยามว่างจากศึกพระนเรศวรจะทรงฝึกสมาธิเสมอๆ พร้อมทั้งให้ทหาร      ใกล้ชิดพระองค์ปฏิบัติเช่นกัน

๑๒ มีความกล้าหาญ ไม่ท้อถอย แม้ล้มเหลว ครั้งเหตุการณ์ทีี่พระองค์ทรงนำหน้าทหารคาบพระแสงดาบปีนขึ้นบุกค่ายบุกพม่า จนทรงถูกทวน      แทง ตกลงมาจนตกค่าย แต่พระองค์ไม่ทรงท้อ ยังทรงนำกองทหารเข้าตีค่ายพม่าอีก

๑๓ มีวิธีการ แผนศึกของพระองค์ทรงล้ำลึกและแฝงไปด้วยกลยุทธ์ สังเกตุได้จากการสงครามของพระองค์ทรงใช้คนน้อยแต่สามารถเอาชนะได้        เสมอ ในการปกครองพระองค์ทรงกำหนดอัตราภาษี ติดต่อการค้ากับต่างประเทศ การเจริญสัมพันธไมตรีสัมพันธ์ทางการฑูตการญี่ปุ่นโดยส่งปืนใหญ่ที่พัฒนาขึ้นเอง และทำให้ทรงจักพรรดิญี่ปุ่นทรงพอใจมากจนส่งม้าชั้นดีกลับให้สยาม จนเรามีกองกำลังม้าที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค ฯลฯ

๑๔ เป็นผู้มีระเบียบ พระองค์ทรงมีระเบียบเข้มตรงตามโบราณราชประเพณี

๑๕ มีความไตร่ตรอง เมื่อครั้งพระองค์ทรงยกทัพไปตีเมืองตองอู ทางกองทัพยะไข่แกล้งทำเป็นสวามิภักดิ์มาช่วยทำศึก พระองค์ทรงไตร่ตรองดูแล้วไม่น่าวางพระทัย จึงทรงแจ้งว่าทัพไทยมีกำลังเพียงพอแล้ว

๑๖ ความเป็นคนละเอียดละออ พระองค์จะทรงตรวจและเตรียมทุกอย่างอย่างละเอียด ก่อนศึกเสมอเพื่อไม่ให้พลาดเลย

๑๗ รู้จักหาเหตุผลที่ถูกต้อง เมื่อครั้งพระศรีไสยณรงค์เจ้าเมืองตระนาวศรี ก่อการกบฏ พระองค์ไม่ทรงตัดสินพระทัยทันทีแต่ทรงโปรดให้  พระเอกาทศรถยังทัพไปถึงตระนาวศรีเพื่อหาเหตุผลของการก่อกบฏ แต่พระยาศรีไสยณรงค์กลับไม่ยอมให้เหตุผลใดๆจึงโดนประหารชีวิต

๑๘ มีวินิจฉัยที่ถูกต้อง เมื่อครั้งทรงเข้าตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่๒ พระเจ้าตองอูและยะไข่ไปถึงหงสาวดีและชิงลงมือก่อนทัพอยุธยา พระองค์ทรง      วินิจฉัยว่าพระเจ้าตองอูคิดทรยศ ซึ่งเป็นไปตามนั้นทุกประการ

๑๙ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง พระองค์ทรงตรัสกับพระราชบิดาที่ทรงเกรงทหารพม่าจะบุกเพราะพระองค์ทรงหนีออกจากหงสาวดี แต่พระ นเรศวรทรง   ตรัสว่าทัพอยุธยาไม่เพียงตั้งรับสู้กับทัพหงสาวดีได้ยังสามารถยกทัพไปตีได้เลย ทรงเผชิญปัญหาชีวิตและศึกสงครามตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทำให้พระองค์ทรงมีพระทัยที่เข้มแข็ง

๒๐ มีความรวดเร็ว เป็นที่ทราบกันในหมู่ทหารพม่าว่าทัพม้าของพระนเรศวรสามารถจู่โจมได้อย่าง    รวดเร็ว ในการศึกบางครั้งพระองค์ทรงโจมตีก่อนที่ ข้าศึกจะตั้งรับได้ ซึ่งการสงครามแบบนี้ยังไม่มีกษัตริย์พระองค์ไหนทรงริเริ่ม ส่วนใหญ่จะเน้นตั้งรับและจำนวนทหารผิดกับการทหารของพระนเรศวร

๒๑ ช่างสังเกต ในเหตุการณ์ตีเมืองคังพระองค์ทรงสังเกตข้อด้อยของเมืองคังจนสามารถเข้าตีเมืองได้ด้วยกำลังพลน้อยกว่าทัพอื่นที่ร่วมเดินทางในภารกิจนี้

๒๒ มีสัมปชัญญะ ขณะใกล้เสด็จสวรรคต พระองค์ก็ยังทรงมีสัมปชัญญะ สั่งการแม่ทัพ อธิบายแผนการรบให้แม่ทัพฟัง เพื่อเคลื่อนพลไปตีเมืองอังวะต่อไป

๒๓ ไม่หวาดกลัวต่อบุคคลอื่น พระองค์ไม่เคยทรงแสดงอาการหวาดกลัวใดๆ แม้กับพระเจ้าบุเรงนอง

๒๔ การทำตนให้เป็นที่ต้องใจของคนอื่น ทหารพม่าชอบอ้างว่าทหารไทยกลวพรนเรศวรยิ่งกว่ากลัวตายความจริงทหารไทยรักพระนเรศวรมากกว่าชีวิตตนเอง พระองค์ทรงครองใจทหารไทย ด้วยทรงสู้ศึกด้วยพระองค์เองร่วมทหารไทยเสมอ

๒๕ ความรู้จักกาลเทศะ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงตรัสให้คณะฑูตจากยุโรปเดินเข้ามาและสามารถยืนเข้าเฝ้าฯได้

๒๖ ความระมัดระวัง เมื่อครั้งพระองค์ทรงครองพิษณุโลก พระชนมายุ๑๖ พรรษา ทรงตั้งกองระวังภัยทั่วป่ารอบเมืองในแบบกองโจร เพราะทรงทราบดีว่าในไม่ช้าจะเกิดศึกจากพม่าแน่นอน

๒๗ มีไหวพริบปฏิภาณ เมื่อครั้งศึกกับพระเจ้าเชียงใหม่ พระองค์ทรงวางกลศึกให้พระราชมนูแสร้งถอยร่นจนทัพพระเจ้าเชียงใหม่หลงกลเข้ามาในวงล้อม

๒๘ รู้จักป้องกันตัว ขณะที่้ช้างพระที่นั่งวิ่งเตลิดเข้าไปอยู่กลางทหารพม่า มีเพียงจัตุลังคบาทและทหารรักษาพระองค์กลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่ตามทัน ขณะนั้นทหารพม่ากำลังจะเข้าจู่โจมพระองค์ทรงตรัสด้วยพระสุรเสียงดังเป็นภาษาพม่าว่า”ทหารกรุงศรีอยุธยาจงหยุดเดี๋ยวเราจะสู้แม่ทัพเขาตัวต่อตัว” ทำให้ทหารพม่าหยุดชงัก

๒๙ กระทำตนให้เชื่อถือ เมื่อครั้งเมืองเชียงใหม่ขอสวามิภักดิ์เป็นเมืองขึ้นของไทย พระองค์ทรงรับสั่งจะช่วยปกป้องเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นกองทัพล้านช้างกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์โปรดเกล้าฯให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างเมืองเชียงใหม่และล้านช้าง ด้วยพระบารมีของพระองค์สามารถประสานความเข้าใจได้ โดยที่ไม่ต้องมีสงครามเสียเลือดเสียเนื้อของทั้งสองฝ่าย

๓๐ การพูดแต่ความจริง พระองค์ทรงรักษาวาจาสัตย์ได้อย่างเคร่งครัด เที่ยงธรรมและมีความยุติธรรมเป็นที่สุด

๓๑ ความเป็นที่ผู้ดี พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัยจากพระราชบิดา และราชวงศ์สุพรรณภูมิแห่งกรุงสุโขทัยจากพระราชมารดา

๓๒ การดำรงตนให้สมกับเกียรติยศ ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ พระองค์ทรงไม่มีข่าวที่เสื่อมเสียพระเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนางสนม เรื่องผลประโยชน์ เรื่องการแย่งชิงอำนาจ

๓๓ มีความรู้ พระองค์ทรงมีความรู้แตกฉาน ทั้งการศึก การใช้อาวุธอย่างเชี่ยวชาญทุกศาสตราวุธ การปกครอง การศาสนา ภาษา ฯลฯ

๓๔ มีความจำ พระองค์ทรงมีสติปัญญาที่เฉียบแหลม ความจำเป็นเลิศ จนเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าบุเรงนองและพระมหาเถรคันฉ่องมากกว่ารัชทายาทของพระองค์เอง

๓๕ รู้จักฝึกฝนตนเอง สมเด็จพระนเรศวรมิทรงหยุดที่จะใฝ่หาความรู้ พระองค์ทรงศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาทั้งทางโลกและทางธรรม

๓๖ มีจินตนาการ หน่วยจู่โจมเคลื่อนที่เร็วของพระองค์ มาจากจินตนาการของพระองค์ที่ทรงคิดค้นข้อ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดใช้ยุทธวิธีนี้

๓๗ พึ่งพาตนเอง ตลอดระยะเวลาการครองราชย์ พระองค์มิเคยของความช่วยเหลือจากเมืองใด มีแต่ส่งความช่วยเหลือเช่น ช่วยจีนปราบโจรสลัด ช่วยส่งปืนใหญ่ไปให้ญี่ปุ่น ช่วยลาวให้ได้เชลยคืน

๓๘ ชนะใจตนเอง สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชประสงค์เรื่องความเกษมสำราญเช่นบุคคลทั่วไปแต่ตลอดพระชนมชีพของพระองค์ ทรงตัดพระทัยได้หมดทุกเรื่อง ไม่ว่าพระองค์จะโปรดส่งใดก็ตาม เช่น

-พระองค์ทรงโปรดทะเลมากแต่ก็ทรงเสด็จไปไม่กี่ครั้ง

-พระองค์ทรงโปรดดนตรี แต่ก็มีโอกาสฟังในพระราชวังอย่างสบายพระทัยไม่กี่หน ส่วนใหญ่พระองค์จะพำนักในค่ายทหารที่ตั้งอยู่ในป่า

-พระองค์โปรดพระนางมณีจันทร์ แต่พระองค์ก็จำเป็นต้องรอนแรมตามค่ายทหารเป็นส่วนใหญ่

๓๙ ไม่ละทิ้งความพยายาม พระองค์ทรงยทัพไปตีกรุงหงสาวดีถึงสามครั้ง ฯลฯ

๔๐ มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เหตุการณ์ที่ทำให้พระองค์ทรงประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้น เป็นเครื่องประจักษ์ที่สุดแล้ว

     ตอนนี้เราได้ทราบกันแล้วว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมิขาดตกบกพร่องเลย ทรงมีความยึดมั่น เด็ดเดี่ยว จนสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ  และพระองค์ทรงฝึกพระองค์เองอยู่เสมอทั้งทางโลกและฝึกจิต เจริญสมาธิ ซึ่งหาได้ยากมาก พระองค์ทรงมีคุณสมบัติเหนือยิ่งกว่ามหาบุรุษโดยทั่วไป เพราะเช่นนี้ ทางสมาชิกของเรามิแปลกใจเลยว่าเหตุใด พระองค์ทรงทำสำเร็จทุกประการ

Posted in สาระพันเรื่องเล่า.

Leave a Reply

Your email address will not be published.