หลักฐานทางโบราณคดี-เจดีย์ยุทธหัตถี

หลักฐานทางโบราณวัตถุที่ค้นพบบริเวณ อ.พนมทวน

หลักฐานที่ค้นพบบริเวณ อ.พนมทวน          ชาวบ้านบริเวณ ต.ตระพังกรุได้ปรับพื้นที่เตรียมทำนาทำเกษตรกรรม  ทำให้ค้นพบกระดูกช้าง กรามช้าง   กระโหลกช้าง และกระดูกคน โบราณ วัตถุเป็นจำนวนมาก  ซึ่งเมื่อเทียบอายุแล้ว เทียบเคียงกับช่วงยุคสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา จึงทำให้เชื่อกันว่าที่แห่งนี้ เป็นสถานที่จริง ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะ     พระมหาอุปราชา และได้สร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือหงสาวดี และนับตั้งแต่ ชนะศึกครั้งนี้ ประเทศสยามก็ร้างจากศึกสงครามหลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี  กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก และมิมีผู้ใดกล้ารุกรานสยามประเทศ ทั้งนี้ด้วยพระบารมีและพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระเจดีย์ยุทธหัตถี-พนมทวน

พระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่แท้จริงตั้งอยู่ที่ไหน

พระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่แท้จริงตั้งอยู่ที่ไหน ปัจจุบันยังมีการถกเถียงจากนักวิชาการพระเจดีย์ยุทธหัตถีที่ สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างว่าตั้งอยู่ที่ใดกันแน่  สถานที่จริงที่หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาแม่ทัพของทหารกรุงหงสาวดี ซึ่งสถานที่ที่ยังถกเถียงกันถึงปัจจุบันคือ

สถูปเจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์ ต.ตระพังกรุ อ.พนมทวน

 สถูปเจดีย์ยุทธหัตถี บ้านดอนเจดีย์  ตระพังกรุ พนมทวน  จ.กาญจนบุรี หลังจากที่มีสรุปว่า ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีเป็นสถานที่ตั้งของ สถูปเจดีย์ยุทธหัตถี ต่อมาในปี๒๕๑๒ ชาวบ้านในบริเวณ ตระพังกรุ อ.พนมทวน ได้ขุดดิน เพื่อทำการเกษตรได้พบซากโครงกระดูกช้าง  ม้า และเศษวัสดุข้าวของเครื่องใช้ในสงครามเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ตรงกับ พงศาวดารระบุไว้ และหลักฐานแวดล้อม  ก่อนหน้าที่จะสรุปว่า ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรีเป็นสถานที่ตั้งของ สถูปเจดีย์ยุทธหัตถีนั้น เจ้าเมืองกาณจนบุรีสรุปว่าเจดีย์ที่นี่ไม่น่าใช่เจดีย์ที่พระมหากษัตริย์ทรง สร้าง โดยมิได้เข้ามาสำรวจอย่างจริงจัง  แต่หลังจากที่ชาวบ้านขุดพบหลักฐานอย่างมากมาย จึงมีการกลับมาให้ความสนใจและมีการเข้ามาตรวจสอบมากขึ้น

เจดีย์ยุทธหัตถี-ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

เจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี

             สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสนพระทัยในหนังสือเก่า ที่กล่าวถึงสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีไว้ หลังทรงทำยุทธหัตถี ชนช้างชนะพระมหาอุปราชา ฟันมหาอุปราชาสิ้นชีพบนคอช้าง สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสให้ก่อพระเจดีย์สถานสวมศพพระมหาอุปราชาไว้ ณ ต.ตะพังกกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับสั่งให้พระยากาญจนบุรี(นุช) ออกสืบหาพระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างไว้  

ความสำคัญเจดีย์ยุทธหัตถี

ความเป็นมาและความสำคัญของพระเจดีย์ยุทธหัตถี

          ความเป็นมาและความสำคัญของพระเจดีย์ยุทธหัตถี พระเจดีย์ยุทธหัตถีถูกสร้างขึ้นหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเอาชนะในสงครามยุทธหัตถี ซึ่งถือเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่มากในอดีต เป็นการสงครามที่พิสูจน์ถึงความกล้าหาญและพระปรีชาสามารถของพระองค์ โดยการชนช้าง  แบบตัวต่อตัว การศึกครั้งนี้จึงเป็นกาลศึกที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่สรรเสริญมาตั้งแต่อดีต สมเด็จพระนเรศวรมหาราชนับเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์ที่๒ และ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระนเรศวรหาดเจ้าสำราญ

พระบรมราชานุสาวรีย์พระนเรศวร ณ หาดชะอำเหนือ

                   หากใครไปที่จังหวัดเพชรบุรี ต้องรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวที่ สำคัญ คือหาดเจ้าสำราญ โดยตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เป็นชายหาด ที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มาแต่สมัยโบราณหรือประมาณ๔๐๐ปีมาแล้ว โดย มีประวัติเล่ากันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคย  เสด็จมาที่นี่ พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัย ในความงาม ของหาดนี้มาก ทรงประทับแรม อยู่เป็นแรมปี จน ชาวบ้าน เรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้า สำราญ จากหาดเจ้าสำราญ ไปทางใต้ประมาณ ๗กิโลเมตร เป็นชายหาดปึกเตียน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว