อุปปาตะสันติหรือมหาสันติหลวง

บทสวดอันศักดิ์สิทธิ์”อุปปาตะสันติ”หรือมหาสันติงหลวง

อุปปาตะสันติหรือมหาสันติหลวง

“อุปปาตะสันติ”หรือมหาสันติงหลวง เป็นวรรณคดีบาลีล้านนาไทย รจนาโดยพระมหามังคลสีลวังสะพระเถระ นักปราชญ์ แห่ง “นพบุรีศรีนครพิงค์”ในรัชสมัยของพระเจ้าสิริธรรมจักกวัตติลกราชาธิราช แห่งราชวงศ์มังราย ระหว่าง พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐ เป็นคาถาล้วน จำนวน ๒๗๑ คาถา สรุปเนื้อความในพระคาถามีว่า
เป็นธรรมที่กระทำความสงบอันประเสริฐ
เป็นธรรมที่สามารถประทานซึ่งสมบัติทั้งปวง
เป็นธรรมมเครื่องจำเริญชัยชนะแด่พระราชา
เป็นธรรมเครื่องสงบเหตุร้ายทั้งปวง
เป็นธรรมเครื่องย่ำยีกำลังของข้าศึก
เป็นธรรมเครื่องป้องกันอมนุษย์ และยักษ์
เป็นธรรมเครื่องขจัดความเศร้าโศก และโรค
เป็นธรรมเครื่องนำสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งปวงออกไป

อันพระเถระนักปราชญ์ของชาวล้านนาได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์สามเณร ประชาชนพากันสวดและฟังพระคาถานี้ เพื่อช่วยกันสงบระงับเหตุเภทภัยและวิกฤตการณ์ในยามที่บ้านเมืองประสบเหตุ ร้ายและมีสิ่งกระทบกระเทือนจากภัยทั้งปวงเป็นที่เลื่อมใสของชาวล้านนาและชาว พม่า ถือกันว่าเป็นพระคัมภีร์ที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

Posted in กตัญญุตาบูรพมหากษัตริย์ไทย.

Leave a Reply

Your email address will not be published.